หายไปนานเลย จาก post ที่แล้วที่อธิบายการ ติดตั้ง Jenkins บน window ไป สำหรับใครที่ยังไม่ได้ติดตั้ง ก็ลองย้อนกลับไปดูก่อนนะครับ เสร็จแล้วเรามาต่อกันที่การ config ให้ Jenkins รัน Robot Framework กันดีกว่าครับ
ก่อนอื่นเลยเครื่องที่เพื่อนๆลง Jenkins ต้องสามารถรันเทส robot script ได้ด้วยนะครับ ใครจำวิธีลงไม่ได้ตาม link นี้เลยครับ
เริ่มติดตั้ง Plug-in Jenkins ที่จำเป็น
- ให้เราเปิด Browser ไปที่ Jenkins url ได้เลยครับ Default URL ปกติคือ 127.0.0.1:8080 แล้ว Login เลยครับ
- Manage Jenkins –> Manage Plugins –> Available Tab
- ให้ Search หา plugin Robot Framework plugin และ Select checkbox ด้านหน้า plugin แล้วเลือก Download now and install after restart
- เมื่อ Install เสร็จก็ให้ Restart Jenkins Server โดยการไปที่ URL 127.0.0.1:8080/restart แล้วเลือก Yes
เท่านี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นการเตรียมความพร้อมของ Jenkins แล้วครับ ไปต่อกันที่การ สร้าง Job มาเพื่อรันเทสกันเลย
เริ่ม New Job สำหรับรันเทส
- New Item –> ตั้งชื่อ Job ที่ต้องการได้เลย จากตัวอย่างคือ Demo
- เลือก Type เป็น Freestyle project แล้วเลือก OK ได้เลยครับ
- Config test script file
ในส่วนนี้ถ้าเพื่อนๆยังไม่ได้ Commit code ไว้บน Git ก็อาจลองจาก test script ตัวอย่างตาม url นี้ได้เลยครับ https://github.com/qahive/demo_test_lab_robot_scripts.git - เพิ่มคำสั่งให้Jenkins รันเทสโดย ส่วนการ Build เลือก
Add build step –> Execute Windows batch command
จากนั้นเพิ่ม Command “pybot .” - เพิ่มคำสั่งในการแสดงผลการเทสให้กับ Job นี้
เพิ่ม Publish Robot Framework test results เข้าไปภายใต้ Post-build Actions แล้วทำการ config ตามรูปด้านล่างได้เลยครับ - หลังจากนั้นให้ Save Job ได้เลยครับ เพื่อนๆก็พร้อมจะรันเทสแล้ว
- สุดท้ายลองรันเทสดูด้วยการสั่ง Build Now ภายใต้ Job Demo ครับ
เท่านี้เพื่อนๆก็พร้อมแล้วสำหรับการทำงาน แบบ
Continuous Integration
สนใจเรียนคอร์สออนไลน์เพิ่มเติมด้านล่างเลย
CI & CD ด้วย Jenkins Pipeline
เรียนคอร์ส Jenkins Online ก่อนใคร
จาก 3,000 ลดเหลือ 2,499 บาทเท่านั้น!!!